สันทนาการ

# เกมเตรียมความพร้อม #
    คือ เกมที่เล่นง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งไม่ได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ แต่ใช้มือ และเสียงของผู้เข้าร่วม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ยังไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมมีการตื่นตัว เกิดความสนใจ สร้างบรรยากาศความสนุกสนาน และเป็นกันเองให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะนำเข้าสู่กิจกรรมอื่นๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์ 
   1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมต่างๆ 
   2. เพื่อกระตุ้นผู้เข้าร่วมให้มีการตื่นตัว และเกิดความสนใจ
   3. เพื่อสร้างบรรยากาศความสนุกสนาน และเป็นกันเองให้เกิดขึ้น

เกมส์ที่ใช้ในการฝึกอบรม เกมนั่งล้อมวง แท็บ  เป็นเกม "เช็คสติ"
ให้ทุกคนหยิบของมาคนละ 1 ชิ้น เป็นของอะไรก็ได้ที่โยนได้ แตกหักเสียหายได้ (เช่น ที่มัดผม ซองใส่ดินสอ ซองใส่มือถือ นิ่มๆ ประมาณนั้น) แล้วส่งของวนไปเรื่อยๆ ตามจังหวะ

 "แท็บ แท็บ แท็บทะละแล็บแท็บแท็บ" 

แท็บแรกส่งของ แท็บที่สองก็ส่งของ แต่แท็บทะละแล็บแท็บ ต้องเอาของเคาะลงกับพื้นตรงที่ตัวเองนั่งสลับซ้ายขวาเป็นจังหวะ ก่อนที่จะส่งอีกครั้งเป็นหนที่สาม ซึ่งจังหวะนี้จะทำให้คนที่สติไม่ดีพอไขว้เขวและสับสนว่าเมื่อไหร่จะส่ง อะไรประมาณนี้ 

เวลาจับคนแพ้ก็ดูว่าข้าวของของใครมากองอยู่ตรงหน้ามากที่สุด เพราะถ้าส่งไม่ทันจังหวะของจะยังมีอยู่ที่ตัวเอง ไม่ได้ส่งไป และคนที่ส่งของวนมาให้อีก ของก็จะติดแหงกอยู่ข้างหน้านี่แหละ แรกๆ ก็ช้าๆก่อน หลังๆ ค่อยเร่งจังหวะเร็วขึ้น แล้วจะสนุก

เกมจำชื่อ
นั่งล้อมวงแล้วจำชื่อเพื่อนให้ได้ทุกคน
ให้คนเริ่มพูดชื่อตัวเอง คนที่สองก็พูดชื่อของคนแรกและชื่อตัวเอง คนที่สามก็พูดชื่อคนแรกและคนที่สองและชื่อตัวเอง เพิ่มจำนวนวนไปเรื่อยๆๆ เคราะห์กรรมจะตกอยู่กะคนสุดท้ายที่ต้องจำให้รอบวง แต่เล่นจริงๆ พอไปสัก 6-7 คนก็เริ่มไขว้เขวแล้วค่ะ สนุกมากๆ

ลิง 1 ตัว : เล่นเหมือนเกมปลาโลมา

รักนะ + จะบ้าเหรอ
หันซ้ายรักนะ หันขวาจะบ้าเหรอ

1. เกม รหัสปรบมือ    

       ขั้นตอนกิจกรรม  
        > ให้ผู้เข้าร่วม นั่งรวมกันเป็นแถว หรือวงกลม แล้วแต่กรณี
        > ผู้นำกิจกรรม หาคำสำคัญหลัก (Key words) ในการเล่นเกมนี้ 3 คำ ซึ่งอาจเป็นชื่อโครงการ ชื่อค่ายอบรม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        > ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้นำกิจกรรมพูดคำว่า “แกนนำ” ให้ผู้เข้าร่วมปรบมือที่บริเวณหน้าขาตัวเอง 2 ครั้ง เมื่อพูดคำว่า “ป้องกัน” ให้ปรบมือปกติ ระดับอก 2 ครั้ง และเมื่อพูดคำว่า “ยาเสพติด” ให้ชูมือขึ้นสูงๆ แล้วปรบมือ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถพูดสลับคำ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสับสน ก็จะเพิ่มความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
        > เล่นในลักษณะอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจให้ปรบมือเฉพาะผู้ชายหรือผู้หญิง หรือให้ปรบมือเป็นกลุ่มเพื่อแข่งขันกันก็ได้

      จุดเด่นของเกมนี้
       จะช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถจดจำชื่อของโครงการ หรือชื่อค่ายอบรมได้เป็นอย่างดี และมองเห็นถึงความสำคัญของคำนั้นๆ ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน สามารถใช้เล่นได้ทุกช่วงตลอดระยะเวลาของการอบรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมตั้งใจฟังผู้นำ เกิดความตื่นตัวหรือในกรณีที่ผู้เข้าร่วมเริ่มคุยกันและส่งเสียงดังมากขึ้น


    2. เกม ปรบมือชุดใหญ่    

        ขั้นตอนกิจกรรม 
         > ผู้นำกิจกรรมอธิบายว่าการปรบมือชุดใหญ่นั้นมีอยู่ 4 รอบ ดังนี้ (ควรมีพี่เลี้ยงสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง)
รอบแรก        :    12/123/12/12/1
รอบที่สอง      :    12/123/12/12/ปรบมือแบบไขว้กัน
รอบที่สาม      :    12/123/12/12/เฮ้ ! ดังๆ พร้อมชูกำปั้นข้างขวาขึ้น
รอบสุดท้าย    :    12/123/12/12/ส่งรอยยิ้มให้ทุกคนโดยกวาดมือทั้งสองออกจากริมฝีปาก
         > ให้ผู้เข้าร่วมทำตามพี่เลี้ยงทีละรอบ จากนั้นจึงทำต่อเนื่องกันทั้ง 4 รอบ โดยผู้นำกิจกรรมจะพูดประโยคที่ว่า “ปรบมือชุดใหญ่ 3 4” อาจจะให้ปรบมือพร้อมกันทั้งห้องประชุม หรือทีละกลุ่มแล้วแต่กรณี

       จุดเด่นของเกมนี้  
         เมื่อมีการแบ่งกลุ่ม สามารถกระตุ้นให้เกิดความพร้อมเพรียงกันภายในกลุ่มได้ และยังสามารถใช้เล่นได้ตลอดระยะเวลาของการอบรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมตั้งใจฟังผู้นำ เกิดความตื่นตัว หรือในกรณีที่ผู้เข้าร่วมเริ่มคุยกันหรือส่งเสียงดัง ที่สำคัญผู้นำกิจกรรมสามารถพูดเชื่อมโยงจากท่าทางในรอบสุดท้ายว่า เราจะส่งมอบรอยยิ้มและมิตรภาพให้แก่กันและกันเพื่อให้ทุกคนมีความสุข และสนุกสนานร่วมกัน

จับกลุ่ม
วิธีเล่น 
> ตามเดือนเกิด(ลักษณะร่วมของคนเกิดเดือนเดียวกัน), นิสัย(ข้อคิดการอยู่ร่วมกับคนอื่น), วันเกิด(ลักษณะร่วมของคนเกิดวันเดียวกัน), สภาพสมรส(สรุปข้อคิดการใช้ชีวิตสมรส), ลูกคนที่เท่าไร(ความรู้สึกของการเป็นลูกคนที่)

ภาพแห่งความทรงจำ
วิธีเล่น 
> วาดหน้าคู่ของตัวเอง จ้องตากัน ห้ามมองกระดาษ

ประกบมือคุยกัน
วิธีเล่น 
> คุยกันจน ใครรู้สึกสนิทใจให้เอามือออก

บอลวิเศษ
วิธีเล่น 
> ให้รวมกันเป็นวงกลมใหญ่ 1 วง โดยผู้นำกิจกรรมยืนอยู่ตรงกลาง พร้อมกับถือบอลไว้ 1 ลูก
> ผู้นำกิจกรรมตั้งคำถาม โดยเริ่มจากคำถามง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถตอบได้ เช่น ชื่ออะไร มาจากโรงเรียน/ชุมชนอะไร ชอบสัตว์เลี้ยงชนิดใด ชอบทานอาหารชนิดใด อยากไปเที่ยวที่ไหน เป็นต้น
> ผู้นำกิจกรรมถามผู้เข้าร่วม พร้อมกับโยนลูกบอลให้คนใดคนหนึ่ง เมื่อรับลูกบอลแล้วให้ตอบคำถาม ตอบเสร็จจึงโยนลูกบอลคืนให้กับผู้นำกิจกรรม จากนั้นผู้นำกิจกรรมโยนให้คนอื่นต่อไปเรื่อยๆ โดยใช้คำถามเดิมประมาณ 5-6 คน หรือ ตามความเหมาะสมเล่นในลักษณะเช่นเดียวกัน แต่เปลี่ยนคำถามไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้นำกิจกรรมควรโยนลูกบอลให้กับผู้เข้าร่วมอย่างทั่วถึง จนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควร จึงยุติการเล่น
จุดเด่นของเกม 
         ทุกคนมีโอกาสได้พูด แม้แต่ผู้เข้าร่วมที่มีความเขินอายก็จะได้มีส่วนร่วม ที่สำคัญสามารถเชื่อมโยงสู่เนื้อหาของการอบรมได้ คือ เมื่อผู้เข้าร่วมเริ่มคุ้นเคยจากการตอบคำถามง่ายๆ แล้วอาจปิดท้ายด้วยคำถามที่เกี่ยวข้องกับการอบรม เช่น เมื่อพูดถึงคำว่าโรคเอดส์นึกถึงอะไร ให้บอกชนิดของยาเสพติด เราจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไรบ้าง เป็นต้น

================

# เกมละลายพฤติกรรม #
   คือ เกมที่มีการใช้วัสดุอุปกรณ์บ้าง แต่ไม่มาก เน้นการเคลื่อนไหว และเคลื่อนย้าย โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เกิดความคุ้นเคย และกล้าแสดงออก  รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน ที่เอื้อต่อการเปิดใจสู่การเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด สร้างความเป็นมิตร ความเป็นกันเอง ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการกิจกรรมต่างๆ

วัตถุประสงค์
   1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสรู้จักชื่อและเกิดความคุ้นเคยกันมากขึ้น
   2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
   3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกทักษะการฟัง ความไว และปฏิภาณไหวพริบ

กอด
วิธีเล่น 
> แบ่งกลุ่ม (หรือครอบครัว) เปิดเพลง พอปิดให้ยืนบนกระดาษ ห้ามเท้าแตะพื้น พับกระดาษให้เล็กลงเรื่อยๆ

สลับกันนวด
วิธีเล่น 
> เข้าแถวตอน

นับเลขยกเว้น
วิธีเล่น 
> นับไล่ไปเรื่อยๆ ยกเว้น 0 กับ 5 ตกที่ใคร ให้พูดตามกำหนด (ข้อคิด ต้องตั้งใจฟังผู้อื่น)

สามช่ารวมอวัยวะ
วิธีเล่น 
> เปิดเพลงเต้น สั่งรวมอวัยวะ 10 มือ, 7 แขน, สะโพก ฯลฯ

ทำอะไรดีจ๊ะ   
วิธีเล่น 
> ผู้นำกิจกรรมพูดว่า “ทำอะไรดีจ๊ะ?” ให้ผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้ชายถามกลับว่า “ทำอะไรดีครับ ?” ส่วนผู้หญิงถามกลับว่า “ทำอะไรดีค่ะ ?” พร้อมกับปรบมือเป็นจังหวะ
> จากนั้นผู้นำกิจกรรมบอกให้ทำอะไร ผู้เข้าร่วมต้องทำตามด้วยความรวดเร็ว เช่น ให้เอามือไปแตะฝาผนังห้อง เอามือไปจับสิ่งของภายในห้องที่เป็นสีเขียว หรือจับกลุ่ม 5 คน เป็นต้น
> หากคนไหนทำช้า จะถูกเชิญออกมาด้านหน้าเพื่อสัมภาษณ์ หรือเต้นประกอบเพลงสนุกๆ หลังจากหยุดเล่นเกมแล้ว
> เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควร จึงยุติการเล่น
จุดเด่นของเกมนี้
       เล่นได้ทุกช่วง เพื่อกระตุ้นผู้เข้าร่วมให้มีการเคลื่อนไหว ยังสามารถใช้ในการแบ่งกลุ่ม หรือจัดแถว ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็ว และสนุกสนานควบคู่กันไปด้วย

คุณรักใคร
วิธีเล่น
> ให้ผู้เข้าร่วมนั่งเป็นวงกลมใหญ่ 1 วง
> ให้แต่ละคนบอกชื่อของตัวเองดังๆ เพื่อให้เพื่อนคนอื่นๆ ได้รู้จักชื่อ ซึ่งแต่ละคนต้องจดจำชื่อของเพื่อนๆ ให้ได้มากๆ หากมีป้ายชื่อให้ปิดป้ายชื่อไว้ด้วย
> ผู้นำกิจกรรมถามผู้เข้าร่วมคนหนึ่งว่าคุณรักใคร? โดยต้องเอ่ยชื่อด้วย และคนที่ถูกถามต้องตอบว่าฉันรัก …. (ชื่อของเพื่อนเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่คนข้างๆ)
> จากนั้นคนที่นั่งทางซ้ายมือและขวามือของคนที่ถูกถาม และคนที่ถูกบอกว่ารัก ต้องวิ่งสลับที่นั่งกับเพื่อนในขณะเดียวกันผู้นำกิจกรรม ก็จะต้องเข้าไปแย่งที่นั่งด้วย
> เมื่อผู้นำกิจกรรมสามารถเข้าไปแย่งที่นั่งได้แล้ว จะทำให้มีผู้เข้าร่วมเหลือหนึ่งคนอยู่ตรงกลางวง แล้วจึงถามต่อว่า ….. รักใคร ? เช่นเดิม ก็จะเกิดการแย่งที่นั่งขึ้นอีกครั้ง
> เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควร จึงยุติการเล่น
จุดเด่นของเกมนี้
จะทำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักชื่อของเพื่อนและคุ้นเคยกันได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้นำกิจกรรมยังสามารถนำเอาเรื่องการบอกรักมาให้แง่คิดแก่ผู้เข้าร่วมได้อีกด้วย กล่าวคือความรักเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่าเราสามารถบอกรักทุกๆ คนได้ ทั้ง พ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อนๆ เป็นต้น

รถไฟฟ้า มาหานะเธอ
วิธีเล่น 
> ผู้นำกิจกรรมอธิบายว่ารถไฟ 1 ขบวน ประกอบด้วยหลายโบกี้ ให้ผู้เข้าร่วมหนึ่งคนแทนด้วย 1 โบกี้
> เมื่อผู้นำกิจกรรมบอกให้ต่อกันเป็น 4 โบกี้ ผู้เข้าร่วมก็ต้องต่อแถวกัน 4 คน โดยผู้นำกิจกรรมต้องกำหนดเพิ่มเติม ว่าหัวขบวนต้องเป็นคนลักษณะใด โดยเปรียบเทียบกับคนในขบวนของตนเอง เช่น คนที่สูงที่สุด ผมยาวที่สุด ต้องเป็นผู้หญิง หรือน่ารักที่สุด เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดเวลาด้วยอาจจะรอบละ 30 วินาที เมื่อหมดเวลาก็เป่าสัญญาณนกหวีด และขบวนใดที่ช้า หรือทำไม่ถูกกติกา ก็อาจจะมีการคัดออกเพื่อหาผู้ชนะต่อไป
> เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนคำสั่ง เป็น 5 โบกี้ หรือ 6 โบกี้ รวมทั้งต้องบอกถึงลักษณะพิเศษของคนที่จะเป็นหัวขบวนด้วยจนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควรจึงยุติการเล่น

    จุดเด่นของเกม 
    อยู่ที่ความวุ่นวายของผู้เข้าร่วมที่จะต้องวิ่งวุ่นต่อแถวเป็นรถไฟกับเพื่อนๆ แถมยังต้องหาคนที่มีคุณลักษณะตามที่ผู้นำกิจกรรมกำหนดให้ เป็นหัวขบวนอีกด้วย และเงื่อนไขของเวลาที่กำหนดก็จะช่วยเพิ่มความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญผู้นำต้องสามารถควบคุมความวุ่นวายที่เกิดขึ้น โดยการใช้นกหวีด 
  
2. เกม จุดศูนย์กลาง”    

       ขั้นตอนกิจกรรม 
       > ให้ผู้เข้าร่วมรวมกลุ่มๆ ละ 3-5 คน แล้วนั่งลงเป็นวงกลมโดยให้หัวเข่าชนกัน (อาจจะเล่นต่อจากเกมทำอะไรดีจ๊ะ ? โดยบอกให้ผู้เข้าร่วมจับกลุ่ม ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็ว)
       > จากนั้นให้แต่ละกลุ่มหาจุดศูนย์กลางของวง แล้วให้ผู้เข้าร่วมเอามือซ้ายไขว้ไปด้านหลัง และมือขวาจับติ่งหูซ้าย
       > ผู้นำกิจกรรมเล่านิทานให้ฟังเรื่องหนึ่ง และขณะเล่านิทาน ถ้าผู้นำกิจกรรมพูดคำว่า “วัยรุ่น” ให้ผู้เข้าร่วมเอามือที่จับติ่งหูซ้ายตะปบลงไปตรงจุดศูนย์กลางของวง ถ้ามือคนใดอยู่บนสุด แสดงว่าทำช้า ผู้นำกิจกรรมอาจจะเชิญให้ออกมาเต้นประกอบเพลง
       > โดยคำที่จะใช้พูดควรเกี่ยวข้องกับโครงการ หรือการอบรมนั้นๆ และไม่ควรเกิน 2-3 พยางค์ ซึ่งต้องบอกให้กับผู้เข้าร่วมรับทราบ ก่อนที่จะเริ่มเล่านิทาน
       > เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สัก 2-3 รอบ โดยเปลี่ยนคำด้วย

     จุดเด่นของเกมนี้
       จะขึ้นอยู่กับผู้นำกิจกรรมเป็นสำคัญ หากผู้นำเล่านิทานได้อรรถรส มีลูกเล่น ชั้นเชิง น้ำเสียงน่าตื่นเต้น รู้จังหวะหลอกล่อด้วยคำที่ขึ้นต้นเหมือนกัน เช่น วัยรุ่น ก็อาจจะพูดคำว่า วัยเยาว์ เป็นต้น นอกจากนี้นิทานที่เล่า ถ้าเป็นเรื่องราวที่นำเข้าสู่การอบรมได้ ก็จะเป็นการเพิ่มคุณค่าของเกมนี้ได้อีกด้วย

    4. เกม ช่องว่างในหัวใจ 

       วัสดุ/อุปกรณ์
       เครื่องดนตรี ประกอบด้วย กีตาร์ กลองบองโก้ แทมบูลิน ฯลฯ หรือเครื่องเล่นซีดี และนกหวีด

       ขั้นตอนกิจกรรม
       > ให้ผู้เข้าร่วมนั่งเป็นวงกลมใหญ่ 1 วง โดยเว้นช่องว่างไว้ 1 ช่อง
       > ผู้นำกิจกรรมชี้แจงว่า ให้ผู้เข้าร่วมสังเกตดูว่าถ้าข้างๆ เรามีช่องว่างเกิดขึ้นให้จับมือกับเพื่อนอีกคนไปหาเพื่อน 1 คน มานั่งเพื่อเติมช่องว่างให้เต็ม เมื่อเกิดช่องว่างตรงไหนก็ให้หาเพื่อนมาเติมข้างตัวเองให้เต็มอย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะเล่นควรจะชวนผู้เข้าร่วมร้องเพลงด้วยกัน หรือเปิดซีดี ก็ได้   
       > เมื่อผู้นำกิจกรรมเป่านกหวีด ผู้เข้าร่วมคู่ไหนที่ยังหาเพื่อนอีกคนมาเติมลงในช่องว่างไม่ได้ หรือช้า ยังวิ่งกลับไม่ถึงที่ ผู้นำกิจกรรมก็ให้ออกไปอยู่นอกวง
       > เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควร จึงยุติการเล่น
       > จากนั้นผู้นำกิจกรรมจึงเชิญให้ผู้ที่อยู่นอกวงกลมใหญ่ออกมาสัมภาษณ์ และเต้นประกอบเพลงสนุกๆ

     จุดเด่นของเกมนี้
       ผู้เข้าร่วมจะรู้สึกตื่นเต้นและรีบวิ่งเมื่อข้างๆ ตนเองเกิดช่องว่าง ที่สำคัญต้องวิ่งไปพร้อมกับเพื่อนอีกคน ก็จะทำให้เกิดความคุ้นเคยกันในบรรยากาศของความสนุกกับเสียงเพลง และเงื่อนไขของเวลาก็จะทำให้เกิดความตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญเพลงที่ใช้ร้องหรือเปิดซีดี ต้องเป็นจังหวะเร็ว

6. เกม "4 ห้องหัวใจ"

    วัสดุ/อุปกรณ์ 
    กระดาษสีชมพูตัดเป็นรูปหัวใจ (เท่ากับจำนวนผู้เข้าร่วม) ปากกา หรือสีเมจิก
    
    ขั้นตอนกิจกรรม 
    > แจกรูปหัวใจให้กับผู้เข้าร่วมคนละ 1 ดวง พร้อมปากกา หรือสีเมจิก
    > ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ช่อง และเขียนหมายเลขกำกับไว้ ซึ่งแล้วแต่การออกแบบของแต่ละคน
    > ผู้นำกิจกรรม กล่าวว่า หัวใจของคนเรามี 4 ห้อง แล้วในวันนี้เราจะมอบหัวใจให้กับเพื่อนใหม่ของเราซึ่งเราจะต้องเข้าไปพูดคุยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ แล้วเขียนชื่อพร้อมกับชื่อหมู่บ้าน โรงเรียน หรือหน่วยงานของเพื่อน ซึ่งเพื่อนก็ต้องเขียนชื่อเราด้วย ลงในหัวใจช่องเดียวกัน ซึ่งจะต้องหาให้ครบทั้ง 4 ช่อง ตามเวลาที่กำหนดโดยยกเว้นคนที่มาจากที่เดียวกัน
    > ผู้นำกิจกรรมสุ่มถาม 1 คนแล้วให้คนนั้นบอกชื่อเพื่อนพร้อมกับชื่อหมู่บ้าน โรงเรียน หรือหน่วยงาน ซึ่งต้องทายด้วยว่าเป็นใครแล้วก็ให้คนที่ถูกเอ่ยชื่อนั้น บอกชื่อเพื่อนอีก 1 คน  
    > ถามในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้นำกิจกรรมเห็นสมควรจึงยุติการถาม

    จุดเด่นของเกม 
    ทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสพูดคุยใกล้ชิดกัน และจดจำชื่อกับที่มาของเพื่อนๆ ได้ อย่างน้อย 4 คน  ซึ่งสามารถร้องเพลงหรือเปิดเพลงระหว่าง   กิจกรรมได้ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ

============================

# เกมเสริมสร้างทักษะชีวิต #
   คือ เกมที่เน้นการเล่นเป็นทีม มีความซับซ้อนบ้าง อาจจะต้องอาศัยการอธิบายเกมให้เข้าใจและชัดเจน โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตในด้านต่างๆ ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลิกภาพของตน และเสริมสร้างความมั่นใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม นอกจากนี้ยังได้รับความสนุกสนาน และข้อคิดจากการเล่นเกมอีกด้วย

วัตถุประสงค์ 
   1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ความสามัคคี และการทำงานเป็นทีม
   2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
   3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกทักษะการคิด การฟัง การวางแผน และการจับประเด็น
   4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

พายุเฮอริเคน
วิธีเล่น 
> ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน (ไม่ควรเกิน 15 คน ขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย) จัดแถวเรียงหน้ากระดานจับมือกันไว้ โดยมีระยะห่างพอประมาณ
> ให้ผู้เข้าแข่งขันนับหมายเลข จากคนแรกถึงคนสุดท้าย แล้วจำหมายเลขของตนเองไว้
> ถ้าผู้นำกิจกรรม พูดหมายเลขขึ้นมา 2 หมายเลข เช่น หมายเลข 5 กับ 6 ให้คนที่นับหมายเลข 5 กับ 6 ชูมือข้างที่จับกันไว้แล้วยกขึ้นสูงๆ
> จากนั้นคนที่อยู่หัวแถวและท้ายแถว ต้องวิ่งมาลอดแขนแล้วกลับไปอยู่ที่เดิมอย่างรวดเร็ว โดยห้ามปล่อยมือ ส่วนคนที่นับหมายเลข 5 กับ 6 ก็หมุนตัวกลับด้วย
> เมื่อทุกคนกลับสู่ที่เดิมแล้ว ก็ให้นั่งลงพร้อมกับส่งเสียง เฮ้! ดังๆ ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้ามือที่จับกันไว้หลุด ให้ถือว่าอีกกลุ่มเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ามือหลุดทั้ง 2 กลุ่ม ก็ให้เล่นใหม่
> เล่นในลักษณะเช่นนี้ 3 รอบ ถ้ากลุ่มใดชนะ 2 ใน 3 ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แล้วอาจจะไปแข่งชิงชนะเลิศกับกลุ่มอื่นๆ ต่อไป 

     จุดเด่นของเกมนี้
       คือ การที่ผู้เข้าร่วมทุกคนจะต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เพื่อตั้งใจฟังว่าผู้นำจะพูดถึงหมายเลขอะไร ทำให้เกิดการลุ้น ตื่นเต้น แล้วทุกคนในกลุ่มยังได้เคลื่อนไหวด้วยกันทั้งหมด แต่มีข้อควรระวัง เนื่องจากผู้เล่นจะต้องวิ่ง ดังนั้น ต้องดูบริเวณโดยรอบว่ามีขนาดกว้างเพียงพอ พื้นไม่ลื่น และไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ รวมทั้งถ้าผู้เล่นสวมใส่กระโปรงคงไม่สะดวกในการเล่นเกมนี้       
  
    2. เกม ไข่มังกรที่รัก”    

       วัสดุ/อุปกรณ์ 
       ลูกโป่ง (เท่าจำนวนกลุ่มที่เล่น) กระบอกสูบลูกโป่ง ยางรัด นกหวีด และเก้าอี้ (เท่าจำนวนกลุ่มที่เล่น)

       ขั้นตอนกิจกรรม 
       > ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งเป็น 2-4 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน ตั้งแถวตอนเรียงลึกแล้วนั่งลง จากนั้นเอาเก้าอี้วางไว้ท้ายแถว กลุ่มละ 1 ตัว
       > พี่เลี้ยงถือลูกโป่งยืนอยู่หน้าแถว โดยที่ผู้เข้าที่อยู่หัวแถวชูมือเพื่อเตรียมรับลูกโป่งจากพี่เลี้ยง
       > เมื่อผู้นำกิจกรรมเป่านกหวีด คนหัวแถวรับลูกโป่งจากพี่เลี้ยง แล้วส่งข้ามศีรษะต่อให้กับคนที่อยู่ข้างหลังโดยห้ามหันไปมอง เมื่อลูกโป่งส่งไปถึงคนสุดท้าย ให้คนสุดท้ายขึ้นไป ยืนบนเก้าอี้ แล้วส่งลูกโป่งกลับมายังด้านหน้า เมื่อส่งมาถึงคนแรก ก็ให้คนแรกยืนขึ้นพร้อมกับส่งเสียง เฮ้! ดังๆ ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
       > ถ้ากลุ่มไหนหันหลังไปมองเพื่อนขณะที่ส่งลูกโป่ง ถือว่ากลุ่มนั้นทำผิดกติกา ปรับแพ้ในรอบนี้ แต่ถ้าลูกโป่งหลุดออกจากแถวก็ให้คนที่ทำหลุดนั้นเก็บคืนมา แล้วจึงส่งต่อได้
       > เล่นในลักษณะเช่นนี้ 3 รอบ ถ้ากลุ่มใดชนะ 2 ใน 3 ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แล้วอาจจะไปแข่งชิงชนะเลิศกับกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป  

     จุดเด่นของเกมนี้
       ที่ชัดเจนที่สุด คือ ความตื่นเต้น และสนุกสนาน โดยเฉพาะเมื่อมีทีมแข่งขันมากกว่า 2 ทีม เพราะต้องลุ้นให้ลูกโป่งของกลุ่มตนเองกลับมาถึงคนแรกก่อน แล้วยังต้องลุ้นไม่ให้ลูกโป่งแตกอีกด้วย  ซึ่งผู้นำต้องพูดเชียร์กระตุ้นตลอดการแข่งขันเพื่อเป็นการสร้าง บรรยากาศ ข้อสังเกต ผู้นำและทีมงานต้องช่วยกันดูว่ามีกลุ่มใดทำผิดกติการึเปล่า หากมีก็จะให้แพ้ในรอบนั้นๆ ซึ่งต้องสังเกตดีๆ เพราะการเล่นจะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ไม่ได้ถือเป็นการจับผิด แต่จะปลูกฝังให้ผู้เข้าร่วมรักษากติกาในสังคม และไม่เป็นคนขี้โกงเพื่อให้          
ได้มาซึ่งชัยชนะ      
  
    3. เกม ผู้ชนะสิบทิศ    

      วัสดุ/อุปกรณ์ 
      เครื่องดนตรี ประกอบด้วย กีตาร์ กลองบองโก้ แทมบูลิน ฯลฯ หรือเครื่องเล่นซีดี 
      ป้ายบัตรคำ 6-8 ป้าย (เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการอบรม) ฉลากตามป้ายบัตรคำ พร้อมกล่องใส่
      กระดาษกาว และนกหวีด 

      ขั้นตอนกิจกรรม 
      > นำป้ายบัตรคำ (เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการอบรม) ไปติดตามเสา หรือฝาผนัง รอบๆ ห้องประชุมโดยให้มีระยะห่างประมาณ 3-4 เมตร
      > ให้ผู้เข้าร่วมร้องเพลง หรือเปิดซีดี และเต้นไปด้วยกัน เมื่อเพลงหยุดให้รีบไปอยู่ตามจุดที่ติดบัตรคำไว้ซึ่งอาจไปกันเป็นกลุ่ม หรือกระจายกันไปอยู่ก็ได้ (ขึ้นอยู่กับการวางแผนของผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่ม)
      > ผู้นำกิจกรรมเป่าสัญญาณนกหวีด ซึ่งผู้เข้าร่วมไม่สามารถเปลี่ยนไปอยู่บัตรคำอื่นได้
      > ผู้นำกิจกรรมจับฉลากขึ้นมา 1 ใบ แล้วอ่าน เช่น คำในฉลากเป็นคำว่า “ดนตรี” กลุ่มที่อยู่ป้ายบัตรคำดนตรีก็ตกรอบ ให้ออกไปอยู่ด้านนอกของการแข่งขัน
      > เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเหลือผู้เข้าแข่งขันน้อยที่สุด จึงจะยุติการแข่งขัน แล้วให้คะแนนแต่ละกลุ่มตามจำนวนคนที่เข้ารอบ

    จุดเด่นของเกมนี้
      อยู่ที่การดึงเอาคำที่เกี่ยวข้องกับการอบรมมาใช้ในการเล่น เพื่อเชื่อมโยงสู่เนื้อหา หรือสร้างความคุ้นเคยกับคำต่างๆ เช่น อบรมเกี่ยวกับยาเสพติด ก็เขียนบัตรคำเป็นประเภทของยาเสพติด ได้แก่ สุรา บุหรี่ ยาบ้า กัญชา เป็นต้น หรือ อบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก็เขียนบัตรคำ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังโดดเด่นในเรื่องการวางแผนที่จะกระจายสมาชิกในกลุ่มให้ไปอยู่ตามจุดต่างๆ ข้อสังเกต หากในแต่ละรอบ มีคนตกรอบน้อย อาจจะเพิ่มการจับฉลากเป็นครั้งละ 2 ใบก็ได้ เพื่อกิจกรรมจะได้กระชับ
  
    4. เกม “Yes / No / OK”
     
      วัสดุ/อุปกรณ์ 
      กระดาษ A4 พร้อมเขียนข้อความ 

      ขั้นตอนกิจกรรม
      > ให้ผู้เข้าร่วมนั่งเป็นวงกลมตามกลุ่ม
      > ผู้นำกิจกรรมเขียนคำตอบลงในกระดาษ A4 จากนั้นพับเก็บไว้ โดยไม่ให้ผู้เข้าร่วมทราบ
      > ผู้นำกิจกรรมชี้แจงวิธีการเล่น โดยให้ผู้เข้าร่วมตั้งคำถามขึ้นมา ซึ่งผู้นำจะสามารถตอบได้แค่ คำว่า YES หรือ NO เท่านั้น เช่น หากผู้เข้าร่วมถามว่า “เป็นสิ่งของที่กินได้ใช่หรือไม่” ถ้าผู้นำตอบ YES ก็จะได้สิทธิ์ในการถามต่อ แต่ถ้าผู้นำตอบ NO ก็จะเป็นโอกาสของกลุ่มถัดไป
      > ตั้งคำถามเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีกลุ่มไหนมั่นใจจึงขอตอบ ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ผู้นำก็จะต้องพูดว่า OK เพื่อให้คะแนน หรือรางวัล แต่ถ้าเป็นคำตอบที่ผิด กลุ่มนั้นหมดสิทธิ์ในการแข่งขัน
      > แต่ถ้าใช้เวลาพอสมควรแล้ว ไม่มีกลุ่มใดที่สามารถตอบได้ ผู้นำกิจกรรมอาจมีคำใบ้ให้ แล้วเล่นต่อไปจนกว่าจะมีกลุ่มที่ตอบได้
      > เล่นในลักษณะเช่นนี้สัก 2-3 รอบ (ขึ้นอยู่กับเวลาที่มี) และเปลี่ยนป้ายคำตอบในแต่ละครั้ง

     จุดเด่นของเกมนี้
      คือ การฝึกทักษะการคิด จับประเด็น และการตั้งคำถาม ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ หรืออาศัยการเตรียมใดๆ เพียงแต่คำตอบที่ผู้นำเขียนลงบนกระดาษนั้น ควรจะเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และไม่ยากมากจนเกินไปข้อสังเกต หากกลุ่มใดตั้งคำถามช้าจะทำให้บรรยากาศดูน่าเบื่อ ดังนั้นผู้นำต้องกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกัน
  
    5. เกม เรียกชื่อ   

      ขั้นตอนกิจกรรม
       > ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่มเท่าๆ กัน ประมาณ 5-12 คน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด
       > ให้ทุกกลุ่มตั้งชื่อ (ตามกรอบของประเด็นการอบรม) โดยต้องมี 2 พยางค์ เช่น อบรมเรื่องยาเสพติด ก็ให้ตั้งชื่อยาเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา กัญชา และยาบ้า เป็นต้น
       > ผู้นำกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มขานชื่อของกลุ่มตนเองดังๆ เพื่อให้กลุ่มอื่นได้รับทราบ และทุกคนในกลุ่มต้องช่วยกันจำ
       > เมื่อผู้นำกิจกรรมชี้ไปยังกลุ่มใด ให้กลุ่มนั้นจับมือกันยืนขึ้นพร้อมกับเรียกชื่อกลุ่มตนเอง 2 ครั้ง แล้วโยนให้กับกลุ่มอื่นโดยเรียกชื่อกลุ่มนั้น 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มที่ถูกเรียกก็ทำเช่นเดียวกัน และโยนต่อไปให้กลุ่มใดก็ได้ หากกลุ่มใด ที่ลุกขึ้นช้า เรียกชื่อไม่พร้อมกัน หรือเสียงไม่ดังและชัดเจน ก็ให้กลุ่มนั้นตกรอบ และออกจากการแข่งขันไปก่อน 
       > เล่นในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเหลือ 2 กลุ่มสุดท้าย จึงเป็นผู้ชนะ

       จุดเด่นของเกมนี้
       อยู่ที่การดึงเอาคำที่เกี่ยวข้องกับการอบรมมาใช้ในการเล่น เพื่อเชื่อมโยงสู่เนื้อหา หรือสร้างความคุ้นเคยกับคำต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องคิดชื่อเอง แล้วความสนุกสนานจะมาจากการโยนชื่อกลุ่มกันไปมา บางกรณีก็จะโยนกันซ้ำๆ ไปมา 2 กลุ่ม ทุกกลุ่มจึงต้องมีความสามัคคี และปฎิภาณไหวพริบ ข้อสังเกต ความสนุกจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อจำนวนกลุ่มลดลง ส่วนผู้นำก็มีความสำคัญในการควบคุมเกมเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายระหว่างการเล่น

========================

ต่อภาพ
วัตถุประสงค์ 1 การวางแผน 2 ความสามัคคีของกลุ่ม
อุปกรณ์ กระดาษ(ตัดให้เป็นชิ้นๆ) สำหรับเป็นแม่แบบ 5-6 ชิ้นและทุกกลุ่ม กระดาษให้คะแนน ปากกาสี
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 5- 10 กลุ่มขึ้นไป
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา
> ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมา 1 คน/ครั้ง 5-6 ครั้ง เพื่อมาดู ใช้เวลา 1 นาที แล้วกลับไปที่กลุ่ม โดยคนแรก ห้ามพูดห้ามทำ คนที่ 2 ห้ามทำ แต่บอกได้ คนที่ 3 ห้ามพูดแต่ทำได้ คนที่ 4 ทำได้พูดได้ คนต่อไปอาจให้มาดู 2 คนหรือทั้งหมด

รัก…ไม่รัก
วัตถุประสงค์ 1 ความสนุกสนาน รู้จักกัน คุ้นเคยต่อกัน
วิธีการเล่น
> ให้นั่งเป็นวงกลมวงใหญ่วงเดียว
> อธิบายเกี่ยวกับกติกาและความปลอดภัย เช่น การวิ่ง,ห้ามช้ำคนเดิม
> มีตัวแทน 1 คนออกมากลางกลุ่ม ให้เข้าไปถามใครก็ได้ ว่า "คุณรักผมไหม" (หรือเรา หรือฉัน)
> ผู้ถูกถามต้องตอบว่า "รัก" หรือ "ไม่รัก" 
> ถ้าตอบว่า "รัก" ให้คนที่นั่งอยู่ทั้งสองข้าง เปลี่ยนที่นั่งสลับกัน ส่วนคนถามต้องรีบแย่งนั่ง 
> ถ้าตอบว่า "ไม่รัก" คนถามต้องถามต่อว่า "คุณรักใคร" ผู้ถูกถามต้องตอบว่า "รัก…คนใส่เสื้อแดง ฯลฯ" ให้คนที่นั่งอยู่ทั้งสองข้าง เปลี่ยนที่นั่งสลับกัน ส่วนคนถามต้องรีบแย่งนั่ง

ผึ้งแตกรัง
วัตถุประสงค์ 1 ความสนุกสนาน รู้จักรู้ใจกันมากขึ้น
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ 3 คน
> อธิบายเกี่ยวกับกติกาและความปลอดภัย เช่น ระวังเรื่องวิ่ง,เพศ
> 2 คนให้จับมือกัน เป็นรังผึ้ง 1 คนอยู่ตรงกลาง เป็นผึ้ง 
> การเล่น มี 3อย่างคือ อาจเปลี่ยน 1.ผึ้งแตกรัง (ตัวผึ้งไปหารังใหม่)2.รังแตกผึ้ง (ตัวรังไปหาผึ้งใหม่ 3.รังแตก(ทุกคนที่ เป็นมด,แมว เป็นทั้งรังและผึ้งต้องไปสร้างกลุ่มใหม่) นางพญา(ผู้นำเตรียมเข้าไปแทรก) กิ่งก่า ฯลฯ 
> ระหว่างมีการเปลี่ยนในแต่ละครั้งให้แต่ละกลุ่มถามชื่อ,อาหาร,ว/ด/ป เกิดฯลฯ

นับเลข
วัตถุประสงค์ 1 ความสามัคคี 2 ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม ละ 10-20 คนหรือมากกว่านี้ก็ได้
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา เช่น ห้ามผู้เล่นนับเลขเรียงต่อกันเป็นวงกลม, นับพร้อมกัน
> จัดแถวเป็นวงกลมให้นับเลข 1-50 เริ่มโดยใครก็ได้ 
> ถ้ามีการพูดพร้อมกันให้เริ่มนับ หนึ่งใหม่(เริ่มใหม่) 
หมายเหตุ ผู้นำอาจลดตัวเลขลงก็ได้ ถ้าผู้เล่นทำไม่ได้ เช่นเหลือ 40 ,30 ,20,10

ดนตรีส่งของ
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 การแสดงออก
อุปกรณ์ แป้งหรือลูกบอล,ลิปสติก,มาม่า,ขนม,ลูกโป่งใส่น้ำ,ลูกโป่งใส่แป้ง วิทยุเทป/ซีดี
วิธีการเล่น 
> นั่งเป็นวงกลมหรือยืน 
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา เช่น ส่งไปข้างหน้าหรือย้อนกลับได้,ห้ามโยน 
> การเล่นเมื่อมีเสียงร้องเพลง/เปิดเพลงให้ผู้เล่นที่มีอุปกรณ์รีบส่งของ ถ้าได้ยินเสียง นกหวีดให้หยุดเล่นทันที ของอยู่ที่ใครอาจทำโทษหรือแนะนำตัวหรืออกมาหน้าห้อง 
> การทำโทษอยู่ที่ผู้นำจะพลิกแพลงเองให้สนุกสนาน

เป่ายิงชุ่บ
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 รู้จักกัน
วิธีการเล่น
> จับคู่ 2 คน
> อธิบายกติกา เช่น แข่ง เป่า 2 ใน 3 ,ยอมรับว่าแพ้
> การเล่นให้จับคู่กันแล้วเป่ายิงชุ่บ 2ใน3 กระดาษ ค้อน กรรไกร (อาจใช้ แลบลิ้น หัวเราะ ปรบมือ) 
> คนแพ้ให้จับเอวคนชนะต่อแถว 
> คนชนะให้ไปหาคนชนะ แล้วเป่า 2 ใน 3 ทำต่อไปเรื่อยๆ ก็จะได้แถวยาวๆๆๆ
> คนที่อยู่หัวแถวคือผู้ชนะ

บิงโกโอ้โฮเฮะ
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 รู้จักเพื่อน
อุปกรณ์ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม A-Z หรือ ก-ฮ ขนม
วิธีการเล่น
> นั่งวงกลม
> อธิบายกติกาบิงโก
> ผู้นำจับตัวอักษร 1 ชิ้น ใครชื่อตามตัวอักษรให้ยืนขึ้น 4 คน บิงโกพร้อมกับบอกชื่อ แล้วไปนั่งด้วยกัน 
> ถ้ามี 1 หรือ 2 หรือ 3 ให้นั่งเรียงตามอักษร บอกชื่อด้วย หรือ แบ่งกลุ่ม เล่น ละ10 คน/กลุ่ม 2-3 คน
> บิงโก 5 คน เกมชนะ (แจกขนม)

เหรียญกับกระปุก
วัตถุประสงค์ 1 รณรงค์เรื่องการออมทรัพย์ 2 สนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์
วิธีการเล่น
> กำหนดผู้ชาย เป็น กระปุก ผู้หญิง เป็น เหรียญ
> ผู้นำบอกว่ากระปุก 3 เหรียญ 2 หมายถึง ผู้ชาย 3 คนจับมือกันเป็นวงกลม ผู้หญิง 2 คน เข้าไปอยู่ในวงกลม 
> เมื่อเข้าไปแล้วอาจให้ถามชื่อหรืออาหารที่ชอบ ผู้นำก็จะทำไปเรื่อยๆสลับ ชายมาหรือหญิงมากก็ได้

ปลาทู-ปลาบึก
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2
วิธีการเล่น
> จับคู่กัน 2 คน เลือกใครเป็นปลาทู….ปลาบึก
> เอามือซ้ายมาแตะกัน(แบบจับมือ) เอามือขวาวางที่ตัก
> ถ้าผู้นำพูดคำว่าปลาทู คนเป็นปลาทูใช้มือขวาตีมือปลาบึก ส่วนคนเป็นปลาบึก ต้องรีบเอามือออกให้เร็วที่สุดอย่าถูกตี ผู้นำบอกปลาบึก ก็ให้ทำแบบปลาทู คนถูกตีให้เปลี่ยนคู่ หรือเปลี่ยนทั้งหมด

ใครกันหนะ
วัตถุประสงค์ 1 รู้จักกัน 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ กระดาษ ปากกา/สี
วิธีการเล่น
> แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้พับ 8 ช่อง
> ให้ไปล่าชื่อเพื่อนที่อยู่บนรถให้ครบทุกช่อง ผู้นำจะตั้งคำถามให้ไปล่า เช่น อาหาร,สิ่งที่ชอบ,บ้านอยู่ที่ไหน ,หรือเล่าเรื่องที่เป็นแรงจูงใจอยากจะต้องตอบ อาจจะเฉยเป็นบางคนที่แปลกๆ

เกมเกิดมาลุย
วิธีเล่น
> ต้องมีรหัสสัญญาณ เช่น เยาวชน Hey เยาวชน Hey Hey เยาวชน Hey Hey Hey 
> ให้น้องชูนิ้วชี้ขวาขึ้นมา
> บอกให้ไปชี้อะไรก็ชี้ให้ถึงที่
> แล้วแต่เราจะสั่ง สิ่งของรอบๆตัว เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว ประตู หน้าต่าง เพดาน เก้าอี้ 
> บุคคล เช่น คนที่สูงที่สุด คนที่น้ำหนักเยอะสุด คนที่หน้าตาดีที่สุดชายหญิง คนหน้าเหมือนดารา
> เข้าไปถามคนที่ชี้ว่าเค้าหน้าเหมือนใคร
หมายเหตุ - ก่อนจะไปชี้สิ่งของหรือบุคคลแต่ละอย่าง ผู้นำอย่าลืมสั่ง รหัสสัญญาณ

อย่าทำอย่างฉัน
วิธีเล่น
 > กำหนดท่าให้ 3 ท่าที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น กอดอก จับหัว ชูมือ
 > ผู้นำเกมสั่งว่า "อย่าทำอย่างฉัน" พร้อมกับทำท่าใดท่าหนึ่ง
 > กติกาคือ ให้น้องทำท่าที่เหลืออีกสองท่า ห้ามทำเหมือนผู้นำเกม
 > พี่เลี้ยงที่เหลือคอยดูว่าคนไหนทำตามก็จับออกมา แล้วทำกิจกรรมต่อไป

YWCA ท้าชน 
วัตถุประสงค์ ความสามัคคี 1 การวางแผน 2 ความพร้อมเพียงกัน
อุปกรณ์ กระดาษเขียนลงคะแนน ปากกาสี
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มอาจมากกว่า 5-10 กลุ่ม อยู่ที่จำนวนเด็ก
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา เช่นความพร้อมเพียง,ท่าทาง,เสียงและอื่นๆ
> วิธีเล่น 3 วิธี 1.กอดคอ พูด คำว่า เฮ่ เฮ่ เฮ่ (3รอบ) 2.กระทืบเท้า ทำเสียง ฮู้ๆๆ(คนป่า) 3.ปรบมือ 123 45 เฮ้ (2 ครั้ง) กอดคอชนะปรบมือชนะกระทืบเท้าชนะกอดคอ 4 ใช้วิธีแข่งเป็นคู่ๆ จนถึงคู่ชิง (แข่ง 2ใน 3) มีการเก็บคะแนน ชนะ ได้ 5 คะแนน

จ่ายตลาด
วัตถุประสงค์ ให้เด็กแสดงออกทางความคิด 1 มีความรู้เรื่องอาหาร,ผัก,ผลไม้,เครื่องครัว,ของใช้ในบ้าน อื่นๆ 2 การช่วยเหลือกัน
อุปกรณ์ กระดาษลงคะแนน ปากกา
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ10-20 คน
> อธิบายเกี่ยวกับกติกาการเล่นเช่น ห้ามพูดช้ำกัน,ให้เวลา นับ 1-10 /คน เป็นต้น
> วิธีการเล่นให้ผู้นำตั้งชื่อเรื่อง เช่น อาหารประเภทแกง,ต้ม,ทอด ฯลฯ
> แข่งพร้อมกัน 2 กลุ่ม มีผู้นำ 2 คน ชี้ตัวเด็กทีละคนจากคนแรกจนถึงสุดท้าย คนสุดท้าย ยืนขึ้น แล้วพูด เฮ้ เป็นผู้ชนะ ให้คะแนน 1 คะแนน

ตะขาบ
วัตถุประสงค์ 1 ความสามัคคี 2 ความพร้อมเพียง
อุปกรณ์ กระดาษหนังสือพิมพ์เจาะรู 2 รูสำหรับใส่ขา
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 5-10 คน
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา เช่น ให้เข้าแถว , จับเอวกันใว้ ฯลฯ
> วิธีการเล่น เข้าแถวตอนลึก ให้ทุกคนนำกระดาษหนังสือพิมพ์ใส่ไว้ที่เท้า มือจับเอว เดิน กระดาษห้ามฉีก กลุ่มไหนถึงเส้นชัยเป็นผู้ชนะ

กระซิบกระซาบ
วัตถุประสงค์ 1 ความสนิทสนมกัน 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ กระดาษข้อความเขียนเป็นคำยาวๆ ใช้วิธีพูดแทนการเขียนข้อความ
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม ละ 10-20 คน อาจใช้กระดาษ
> อธิบายเกี่ยวกับกติกา เช่น ห้ามพูดเสียงดัง ห้ามพูดแกล้งเพื่อน ม้วนแล้วพูด
> เข้าแถวตอนลึก ส่งตัวแทนมาหาผู้นำ นำข้อความไปบอกเพื่อนแล้วบอกต่อกันไปจน ถึงคนสุดท้าย เป็นผู้ชนะ
> สลับตัวแทนไปเรื่อยๆหรือสลับคนในกลุ่ม

เท้าล่าชื่อ/มือล่าลายเซ็นต์
วัตถุประสงค์ 1 รู้จักเพื่อนใหม่ อุปกรณ์ ปากกาสีชนิดลบไม่ออก
วิธีการเล่น 
> นั่งเป็นวงกลมหรือยืน 
> อธิบายเกี่ยวกับกติกาและความปลอดภัย เช่น ระวังเรื่องการวิ่ง,สีเขียนเสื้อ 
> แจกสีให้ทุกคน ให้ไปหาเพื่อนเขียนชื่อเขาบนเท้า/มือเราให้ไดมากที่สุด ต้องอ่านออก จับเวลา จากนั้นกลับไปนั่งที่เดิม เรียกออกมาทีละคนหรือสุ่มเรียก 10-20 คน ถามชื่อคนนี้คือใครให้ชี้ หรือไปเอาตัวมา สัก 2-3 คน

พลังกลุ่มสุ้มเสียง
วัตถุประสงค์ 1 ความสามัคคีของกลุ่ม 2 การยอมรับฟังเสียงผู้อื่น
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 5-10 กลุ่มละ5-10คน
> อธิบายกติกาการเล่น
> ให้แต่ละกลุ่มตั้งชื่อกลุ่มเช่น เกี่ยวกับผลไม้ เสียงของสัตว์ ดารา อาหาร ฯลฯ อาจมีท่าทางประกอบด้วย ให้กลุ่มเรียกชื่อกลุ่ม 2 ครั้งแล้วเรียกชื่อกลุ่มอื่น 1 ครั้ง เช่น มะม่วง มะม่วง(ทำท่า)... แตงโม กลุ่มโดนเรียกให้ทำเหมือนกลุ่มแรก

ลงทะเล
วัตถุประสงค์ 1 ความสามัคคี 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ กระดาษหมายเลข หรือผลไม้ หรือสัตว์ เป็นแผ่นเล็กๆ
วิธีการเล่น
> จะแบ่งกลุ่มหรือจับมือทำวงกลมวงใหญ่วงเดียว
> อธิบายกติกาและความปลอดภัย
> ผู้นำจะแจกหมายเลขหรือชื่อสัตว์ ผลไม้ ให้กับทุกคน ชึ่งแต่ละคนต้องเก็บเป็นความ ลับ เมื่อผู้นำเอ่ยชื่ออะไร ให้คนที่มีชื่อนั้นๆ ล้มตัวลงไป เพื่อนๆ ที่อยู่ทั้งสองข้างจับอย่าให้เขาล้ม หรือให้เขาเอาก้นแตะพื้นได้ เอ่ยชื่อไปเรื่อยๆ จนเหลือหมายเลข ที่มีมากที่สุด

หน้าหลังอุ้ยงง
วัตถุประสงค์ 1 ความสามัคคี พร้อมเพรียง 2 การปฏิบัติตามคำสั่งผู้ตาม
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มหรือวงใหญ่
> อธิบายกติกา ความปลอดภัย เช่นเด็กจะแกล้งเพื่อน
> ผู้นำจะบอกให้กระโดดไปข้างซ้าย 2 ครั้ง ขวา 3 ครั้ง หรือซ้ายๆๆขวาๆๆ หน้า หลัง คำสั่งมี หน้า หลัง ซ้าย ขวา นั่ง ยืน นั่งกระโดด ฯลฯ ผู้นำจะเพิ่มคำสั่ง จากง่ายไป หายาก

YW
วัตถุประสงค์ 1 กล้าแสดงออก 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ ป้ายคะแนน
วิธีการเล่น
> นั่งเป็นวงกลม ผู้ชายครึ่ง ผู้หญิงครึ่ง
> อธิบายกติกา
> ส่งตัวแทนมาเปิดป้าย ถ้าพบ Y คือ ผู้ชาย W คือ ผู้หญิง คนที่ได้คำนั้นจะต้อง บอกชื่อฝ่ายตรงข้าม3- 5 คนหรือ…ผู้นำจะเป็นคนออกคำสั่ง ถ้าทำได้ ได้ 1 คะแนน ส่งตัวแทนสลับกันออกมาจับป้าย ทำตามคำสั่งไปเรื่อยๆ

ไฟซ็อด
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 การเป็นผู้ตามที่ดี 
วิธีการเล่น 
> ยืนวงกลมหรือนั่ง 
> อธิบายกติกา 
> ผู้นำมีคำว่า ไฟซ็อด คือ ให้จับมือกัน 2 คน(ห้ามช้ำ) / ไฟดูด คือ ให้จับมือ ชาย หญิง / ไฟรั่ว คือ ปล่อยมือ ให้ปรบมือ 1 ครั้งแล้ว (เปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ)

ซุปเปอร์ฮีโร่ 1
วัตถุประสงค์ 1 การแสดงความคิดร่วมกัน 2 การทำงานเป็นทีม
อุปกรณ์ กระดาษขาว-เทา สีเทียน สีชอค์ก ดินสอ ยางลบ
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 5- 10 กลุ่ม
> อธิบากกติกา
> ให้แต่ละกลุ่มวาดรูปฮีโร่ในความคิดของตนเอง เขียนเหตุผลและตั้งชื่อข้างล่างภาพ เสร็จแล้วระบายสีให้สวยงาม เลือกตัวแทนออกมาพูด 1 คนและผู้ถือภาพ 2 คน ออกมานำเสนอกับเพื่อนๆ

ชุปเปอร์ฮีโร่ 2
วัตถุประสงค์ 1 จินตนาการ 2 ทำางานเป็นกลุ่ม
อุปกรณ์ กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือของที่อยู่ใกล้ตัว สี เทปกาว
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 5-10 กลุ่ม
> อธิบายกติกาทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรม
> ตัวแทนกลุ่มหรือพี่ประจำกลุ่ม เลือกมา 1 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันตกแต่ง โดยสรุป แล้วว่าคือฮีโร่ที่จะต้องตกแต่งตัวให้สวยและเหมือนที่สุด เสร็จแล้ว ให้ฮีโร่พากลุ่ม ทำกิจกรรมเรื่องความดี 1 อย่าง

เล่าความดี
วัตถุประสงค์ 1 ศิลปการพูด 2 การยอมรับ
อุปกรณ์ กระดาษเป็นแผ่นเล็กๆ ดินสอ
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 10-20 กลุ่มๆละ 3-5 คน
> อธิบายกติกา ระวังเรื่องยอมรับไม่ได้
> ให้แต่ละกลุ่มได้เล่าความดีของตนเองทีละคน เมื่อเสร็จแล้วให้โหวตออก 1 คน แล้วเล่าต่ออีกทีละคนแล้วโหวตออกอีก 1 คน จนเหลือ 1 คนสุดท้าย เป็นตัวแทน ของกลุ่มออกมาเล่าความดี ให้คะแนนแต่ละกลุ่มหรือโหวตออก

โดเรม่อน
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 4-5 กลุ่มละ10 คน
> อธิบายกติกา
> ผู้นำออกคำสั่งให้เอาอะไร เช่น เสื้อ 1 ตัว แต่ละกลุ่มต้องรีบเอาของมาให้เร็วที่สุด ผู้นำจะนับ 1-10 จะได้ 1 คะแนน

ลูกโป่งสวรรค์
วัตถุประสงค์ 1 ทำงานเป็นทีม 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ ลูกโป่ง
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ 10-20 คน
> อธิบายกติกา
> ให้แต่ละกลุ่มเข้าแถวตอนลึก แยกขาออก 60 ชม.คนแรกถือลูกโป่งแล้วลอดใต้ขา ใครมาถึงก่อนชนะ หรือ ให้ขาหนีบลูกโป่ง ห้ามจับ แล้วส่งต่อ หรือใช้ท้องส่ง

โมเซสั่ง
วัตถุประสงค์ 1 การแสดงออก 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ ข้อมูลคำสั่ง
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละๆ10 คน
> อธิบายกติกา
> ผู้นำให้พูดคำว่า "โมเซสั่ง" เด็กๆ พูด "สั่งอะไร" 4 ผู้นำสั่งให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่างกัน เช่น กลุ่ม1 ทำความไถนา กลุ่ม 2 ทำเครื่อง พิมพ์ดีด โดยใช้คนในกลุ่มทำ ห้ามใช้อุปกรณ์

รถไฟลอดถ้ำ
วัตถุประสงค์ 1 ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ 20-30 คน
> อธิบายกติกา
> ให้จับคู่กัน ยืนเป็นแถวตอนลึก จับมือกันยกขึ้น คู่ที่อยู่ด้านหน้าให้จับมือกันธรรมดา เสียงนกหวีดให้คู่หน้าจับมือกันวิ่งลอดไปถึงคู่สุดท้ายแล้วจับมือกันยกขึ้นคู่ที่สอง ให้ทำแบบคู่แรก ทีมไหนลอดเสร็จก่อนชนะ(สังเกตคู่แรกขึ้นมาอยู่หัวแถว)

รถไฟขึ้นถ้ำ
วัตถุประสงค์ 1 ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ 20-30 คน
> อธิบายกติกา
> ให้จับคู่กัน นั่งเป็นแถวตอนลึก จับมือกันวางบนเข่า คู่ที่อยู่ด้านหน้าให้จับมือกันธรรมดา เสียงนกหวีดให้คู่หน้าจับมือกันวิ่งข้ามไปถึงคู่สุดท้ายแล้วจับมือกันยกขึ้น คู่ที่สอง ให้ทำแบบคู่แรก ทีมไหนข้ามเสร็จก่อนชนะ(สังเกตคู่แรกขึ้นมาอยู่หัวแถว)

รถไฟอ้อมถ้ำ
วัตถุประสงค์ 1 ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มละ 20-30 คน
> อธิบายกติกา
> ให้จับคู่กัน นั่งเป็นแถวตอนลึก จับมือกันวางบนเข่า คู่ที่อยู่ด้านหน้าให้จับมือกันธรรมดา เสียงนกหวีดให้คู่หน้าจับมือกันวิ่งอ้อมด้านนอกไปถึงคู่สุดท้ายแล้วจับมือกันยกขึ้น คู่ที่สอง ให้ทำแบบคู่แรก ทีมไหนอ้อมเสร็จก่อนชนะ(สังเกตคู่แรกขึ้นมาอยู่หัวแถว)

สัตว์บิน
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 ความรู้เรื่องสัตว์
วิธีการเล่น
> นั่งเป็นแถวหน้ากระดานหรือตอนลึก
> อธิบายกติกา
> ผู้นำสั่ง นกบิน เป็ดบิน ไก่บิน (สัตว์ที่บินได้ให้ทำท่าบิน) แต่ถ้าเป็นช้างบิน ม้าบิน (ไม่ต้องทำท่าหรือทำท่าวิ่งอยู่กับที่แทน)ใครทำผิดออกมาทำแทนผู้นำ

พระอภัยมณี
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน 2 ความอดทน
วิธีการเล่น
> นั่งเป็นวงกลม
> อธิบายกติกา
> ให้ทุกคนเป็นพระอภัยมณี หลับตาทำท่านั่งเป่าปี่ มีตัวแทน 1 คนออกมาตรงกลางวง ให้เดินไปหาเพื่อน แล้วไปลูบเช่น เข่า แก้ม ขา แข้ง แขน ฯลฯ พร้อมกับพูดว่า "พระอภัย" ถ้าคนที่ถูกกระทำหัวเราะ กระดุกกระดิก ยิ้ม พูด ต้องออกมาทำแทน

ครอบครัวหรรษา
วัตถุประสงค์ 1 การแสดงออก
วิธีการเล่น
> แบ่งเป็นกลุ่มละ 5 คน
> อธิบายกติกา
> ให้แต่ละกลุ่มประชุมกัน กำหนดให้ใครเป็นพ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ปู่ ตา ยาย ย่า ฯลฯ ผู้นำจะเรียกออกมาเช่น พ่อ คนที่เป็นพ่อทุกกลุ่มให้ออกมาหน้าห้อง ผู้นำให้กลุ่มพ่อ คิดทำกิจกรรมร่วมกันให้ทุกคนได้ดู แล้วเลือกอย่างอื่นขึ้นมาแล้วทำแบบกลุ่มแรก

เกลียวเชือก
วัตถุประสงค์ 1 การทำงานเป็นทีม
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่มคู่ เช่น 6-12 คน
> อธิบายกติกา
> ให้กลุ่มจัดวงกลม จับคู่ที่อยู่ตรงหน้าเอามือซ้ายไปจับมือขวา เอามือขวาไปจับใครก็ได้ จนทุกคนมีมือประสานกันทั้งหมด จากนั้นให้ถอดมือออกเป็นรูปวงกลม โดยมือห้ามหลุด ออกจากกัน จะข้าม จะลอด จะอ้อม ได้หมด

จัง เก็ง ปง
วัตถุประสงค์ 1 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ละ 10-20 (แล้วแต่)
> คนแรกแถวหน้าของ2 กลุ่ม หันหน้าเข้าหากัน กำมือใว้ด้านหลังแล้วพูดคำว่า จัง เก็ง ปง (เป่า ยิง ชุ่ม) ออกกรรไกร ชนะ กระดาษ ชนะค้อนชนะกรรไกร ผู้ชนะจะชี้ 4 ทิศ คือบน ล่าง ซ้าย ขวา ผู้แพ้ ให้หันหน้าไปตามมือผู้ชี้ให้ทัน ห้ามช้า ถ้าหันหน้าทันให้เป่ายิงชุ่มใหม่ ถ้าไม่ทันให้คนที่ 2 มาเล่นต่อ ชนะให้ทำแบบที่พูดมา

แต่งนิทาน
วัตถุประสงค์ 1 ฝึกการพูด,การใช้คำ 2 กล้าแสดงออก,จินตนาการ
อุปกรณ์ ประโยคคำ เช่น กาลครั้งหนึ่ง,มีแมวกับหมาอยู่คู่หนึ่ง
วิธีการเล่น 
> แบ่งกลุ่มละ 4-5 คน 
> ผู้นำเริ่มต้นประโยค 1 ประโยค แล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งต่อไป 1 ประโยค โดยผู้นำจะบอกให้กลุ่มใหนเริ่มก่อน-หลัง เมื่อจบก็ให้นำมาเล่าให้ฟังอีกรอบ

รถไฟเหาะ
วัตถุประสงค์ 1 ความพร้อมเพียง 2 สนุกสนาน
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม 10-15 คน
> นั่งเป็นแถวตอนลึก คนที่อยู่ด้านหลังกอดคอคนที่อยู่ด้านหน้า ผู้นำสั่งโดยการชี้นิ้ว ไปทางใหนให้ผู้เล่นเอนตัวตาม หรืออาจให้กอดคอกันยืนขึ้นก็ได้ การเคลื่อนไหว อาจตรงกันข้ามกับผู้นำก็ได้

สามรุมถาม
วัตถุประสงค์ 1 ไหวพริบ 2 การฟัง การตอบ
วิธีการเล่น
> แบ่งกลุ่ม ๆละ 3-5 คน
> ให้คนแรกเป็น คนตอบ ที่เหลือเป็น คนถาม โดยถามพร้อมกันเรื่องอะไรก็ได้ คนที่ตอบให้ตอบคำถามไวๆ จากนั้นให้สลับคนที่ 2 3 4 5 มาเป็นผู้ตอบ-ถามบ้าง จนหมดทุกคน

เฮีย…ขออยู่ด้วย
วัตถุประสงค์ 1 สร้างความสัมพันธ์ 2 สนุกสนาน
อุปกรณ์ กระดาษแผ่นเล็กๆ สีเมจิก
วิธีการเล่น
ให้รวมกลุ่ม 5-10 คนแจกกระดาษ 1 แผ่น ต่อคน เขียนชื่ออะไรก็ได้ในกลุ่มต้อง เหมือนกัน ให้นำกระดาษของตัวเองไปแลกกับผู้อื่นกลุ่มอื่น จากนั้นสั่งให้รวมกลุ่ม แล้วถามชื่อกันภายในกลุ่ม ผู้นำสั่งให้แลกกันอีกแล้วรวมกลุ่ม ตั้งคำสั่งให้ถามกัน ทำแบบเดิมไปเรื่อยๆ เพื่อจะได้รู้จักกันมากขึ้น

หัว ไหล่ เอว
วัตถุประสงค์ 1 เตรียมความพร้อม 2 ไหวพริบ
วิธีการเล่น
> จัดเป็นวงกลมหรือแถวหน้ากระดาน
> ให้ทำตาม 1 หัว 2.ไหล่ 3.เอว 4.ไหล่ 5.หัว 6.ไหล่ 7. เอว 8.ปรบมือ 
> จากนั้น ไล่จาก7 มา 6 มา 5 มา4 มา3 มา2 มา 1 ปรบมือ เร่งจังหวะจากช้า ไปเร็วๆๆๆ

สัตว์กี่ขา
> ผู้นำจะเอ่ยชื่อสัตว์เป็นภาษาอังกฤษ 1 คำ 
> ผู้เล่นจะต้องจับกลุ่มกัน 3 คน 
> เมื่อผู้นำบอกว่า Pig ผู้เล่นให้จับกันแล้วยกเท้าขึ้นให้เท่ากับ Pig ห้ามเอาเท้าลงแตะพื้น จนกว่าผู้นำจะบอกให้เอาลง

ชี้นิ้ว
> เล่นเป็นกลุ่มใหญ๋หรือแข่งกันเป็นกลุ่มย่อยก็ได้ 
> ผู้นำจะชี้นิ้วไปด้านซ้าย ขวา บน ล่าง 1 หรือ2 อย่างก็ได้ 
> ผู้เล่นให้ชี้นิ้วแต่ต้องตรงข้ามกับผู้นำ

กระจกบานนี้ส่องแล้วหล่อ/สวย
วิธีเล่น
> ให้จับคู่กัน แล้วตกลงกันว่าใครจะเป็นกระจก อีกคนหนึ่งเป็นคนส่อง 
> เมื่อคนส่องทำหน้าตา ท่าทาง อย่างไร คนที่เป็นกระจกจะต้องทำหน้าตา ท่าทางให้เหมือนคนส่องด้วย (เมื่อทุกคนเล่นจบ อาจให้ตัวแทนมาทำหน้าห้องด้วยก็ได้) 
ข้อคิด เวลาเรายิ้ม กระจกก็ยิ้มให้ รู้สึกแฮปปี้ใช่มะ แต่เวลาเราหน้าบึ้ง หงิกงอ กระจกก็หน้าหงิกงอใส่เราเช่นกัน ฉะนั้นเราต้องทำตัวให้สดใสน่ารักทุกวัน คนรอบข้างก็จะมองเราสดใสยิ้มแย้มให้เช่นกัน

ปลาร้า พิซซ่า เป็นเกมส์คั่นเวลาเล็กน้อย เวลาที่น้องพักแล้วคนไหนเข้าช้ากลุ่มก็จับมาเล่น 
วิธีเล่น
1.จับตัวผู้เข้ากลุ่มช้ามา 1 คน
2.ให้เราถามคำถามน้องแล้วน้องก็จะตอบได้ 2 คำถามสลับกัน คือปลาร้า พิซซ่า เช่น
เวลากลับบ้านไปชอบกิน ปลาร้า แต่พอมาสถานธรรมชอบกิน พิซซ่า เวลาหิวที่สุดก็ต้องกิน ปลาร้า อาหารที่ชอบที่สุดในโลกคือ พิซซ่า แต่ที่กินทุกวันคือ ปลาร้า

บทความที่ได้รับความนิยม