Lisa & you: Everything will be ok

ประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ที่เกิดกับตัวของผมเอง แต่ขอเล่าให้ฟังในรูปแบบของเรื่องสั้นนะครับ


ลิซ่าเป็นเด็กผู้หญิงผอมๆ ผิวขาวซีด หน้าตกกระ มีนิสัยร่าเริง อาศัยในชนบทอันห่างไกล ทางตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์ใกล้กับภาคตะวันตกของประเทศอังกฤษ มีแต่ทุ่งหญ้าสีเขียวสดปกคลุมไปทั่วในช่วงสั้นๆ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่ามตอนปลายฤดูร้อน บ้านของลิซ่าเป็นบ้านเล็กๆ ที่สร้างอยู่ตรงเชิงเขาเตี้ยๆ ปลายทุ่ง ถึงแม้จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเวลาเที่ยงวัน ก็เย็นเหมือนอยู่ในห้องแอร์ แสงแดดอันระอุในช่วงบ่ายแก่ๆ ก่อนพระอาทิตย์ตก ที่พอจะมีกลิ่มอายคิมหันตฤดู ส่องมาทางด้านหลังของภูเขา ก่อให้เกิดเงามหึมาทอดลงมาปกคลุมบ้านสองสามหลังที่อยู่ในแนวเชิงเขาเดียวกัน รวมทั้งบ้านของลิซ่าด้วย ทำให้ความอบอุ่นถูกพรากไป มิสอารี่และครอบครัวของเธอได้อาศัยอยู่บ้านข้างๆตั้งแต่ก่อนที่ลิซ่าจะย้ายมา มิสอารี่เป็นคุณป้าผมสีน้ำตาลปนดำหยักสั้น ผิวขาวร่างใหญ่กว่าคุณโจนสามี ชอบแต่งตัวสวยเหมือนคนรวยๆ ในเมืองใหญ่ ทำงานทุกอย่างตั้งแต่งานบ้านจนถึงงานในไร่ มิสอารี่ใจดี พูดจาติดตลกชอบเล่นกับเด็กๆ แถวบ้าน ชอบชวนลิซ่าไปกินของอร่อยในเมืองใกล้ๆเสมอ

“ลิซ่า!” มิสอารี่ตะโกนเรียกลิซ่า เสียงแกจะดังพอที่จะเข้าไปในห้องนอน ปลุกลิซ่าให้ลืมตาตื่น จากใต้ผ้าห่มอุ่นๆ ที่หมกตัวอยู่
เช้าตรู่ในหน้าร้อนไม่ต่างกับหน้าหนาวมากนัก แค่ไม่มีกองหิมะขาวโพลน
นอกจากเสียงไก่เสียงวัวแล้ว ทุกๆ วันลิซ่าจะได้ยินเสียงกวาดเปลือกข้าวสาลี มิสอามี่จะตื่นขึ้นมาตอนเช้าตรู่ ปัดกวาดโรงสีข้าวเล็กๆ หน้าบ้าน เตรียมที่จะนำข้าวสาลีเปลือกที่เพื่อนบ้านเอามาขาย หรือไม่ก็ไปรับซื้อตามบ้านใกล้เคียง เอามาสีแล้วบรรจุถุงผ้าขาวได้ประมาณ 5-10 กิโลกรัมแล้วไปส่ง
ลิซ่ารีบวิ่งออกมา กระโดดนั่งซ้อนท้ายจักรยานสีแดงจางๆ ที่มิสโจนนั่งเอาปลายเท้ายันพื้นรอท่าอยู่
“ปะ ไปตลาดหาอะไรกินกัน เดี๋ยวป้าต้องรีบกลับมาทำงาน” 
มิสอารี่หันศรีษะมาพูดกับลิซ่า ที่กุลีกุจอรีบมาจนแก้มและปลายจมูกแดงระเรื่อ พอจะเกิดไออุ่นขึ้นมาบ้าง

มิสอารี่ไม่ได้ทำอาหารเช้านานแล้ว ซึ่งปกติเมื่อก่อนจะทำทั้งสามมื้อ ที่ไม่ทำอาจจะเป็นเพราะว่าเอาเวลาไปทำงานในไร่จนหมด คนงานก็ไม่ได้จ้างแแล้ว เก็บเกี่ยวสีข้าวกันเองสองสามีภรรยา จริงๆ แล้วไร่ข้าวสาลีของครอบครัวอารี่มีเพียงไร่เดียว แต่เพราะว่าเมื่อไม่นานมานี้ คุณโจนได้หันมารับซื้อข้าวสาลีเปลือกของเพื่อนบ้านด้วย นำมาสี แล้วขนไปขายในตลาด ซึ่งปกติมิสอารี่จะเป็นคนสีข้าว บรรจุแล้วยกขึ้นมัดติดกับจักรยาน สวมเสื้อคลุมเก่าๆ และหมวกสีแดงแล้วปั่นไปส่งเอง วันละหลายเที่ยว ครั้งละสองถึงสามกระสอบ บางทีก็หลายกระสอบเท่าที่เธอจะขี่ไปได้ หากกระสอบใหญ่ลิซ่าก้อนั่งซ้อนท้ายช่วยอุ้ม ลิซ่าไม่เคยเห็นคุณโจนสามีมิสอารี่ขี่จักรยานเลย ดังนี้ จึงทำให้มิสอารี่ต้องทำงานมากขึ้น

“ฉันมีความอุ่นใจเล็กๆ ที่ได้อยู่ใกล้มิสอารี่” ลิซ่าพึมพัมในใจ 
“ในเวลาเราที่ทำงานร่วมกัน เธอจะสอนฉันในหลายๆ เรื่อง แล้วเราก้อจะคุยสัพเพเหระสนุกสนาน ฉันรู้สึกว่าเธอเป็นเพื่อน มันสนุกที่ได้ทำงานร่วมกับเธอ” 
เป็นเวลาหลายปีตั้งแต่ที่ลิซ่าย้ายมา ทั้งลิซ่าและมิสอารี่ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แค่เพื่อนบ้านที่สนิทสนม แต่อบอุ่นที่ได้อยู่ใกล้ชิดกันเหมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน (ปิดปากทำเสียงถอนหายใจ) ลิซ่าถอนหายใจเล็กน้อยก่อนยิ้มและกล่าวว่า

“มันโชคดีมาก ที่ได้เจอคนที่เราอยู่ด้วยแล้ว ทำให้เรามีความสุข โดยที่เราเป็นตัวของตัวเองได้อย่างสบายใจ”

ถึงแม้ว่าลิซ่าจะไปช่วยงานมิสอารี่เสมอๆ เท่าที่เธอสามารถไปได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ลิซ่ารู้สึกว่ามิสอารี่ได้ทำงานน้อยลงเลย เธอยังคงขี่จักรยานไปๆ มาๆ ส่งข้าวสาลีที่ตลาด ทำอาหารปรนนิบัติสามี ทำงานบ้านต่างๆ และยังเอาผลไม้และอาหารที่เธอทำเอง ไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องของเธอในเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณย่าโจน มารดาของสามีที่เธอปรนนิบัติราวกับมารดาของเธอเอง ถึงแม้ว่าเมื่อก่อนนี้ตอนที่คุณโจนเริ่มทำธุรกิจใหม่ๆ กิจการยังไม่เข้ารูปเข้ารอย ขาดเงินทุนหมุนเวียน เงินออมและทรัพย์สินที่มีอยู่ก็ไม่พอ มิสอารี่จึงอาสาไปหยิบยืมมาจากญาติในเมืองและคุณย่าโจน แต่นับวันธุรกิจที่ทำมีแต่จะขาดทุน เงินทองที่หยิบยืมมาจากญาติและคุณย่าโจนจึงยังคืนได้ไม่ครบจำนวน

ลิซ่าเคยได้ยินว่าครอบครัวอารี่เป็นหนี้ธนาคาร เพราะคุณโจนถูกเพื่อนชักชวนให้เข้าไปทำธุรกิจในเมือง ทั้งยังกู้เงินมาซื้อเครื่องสีข้าว แต่ธุรกิจในเมืองได้ปิดกิจการไป การสีข้าวสาลีแล้วนำไปขายในเมือง จึงเป็นรายได้ทางเดียวของครอบครัวอารี่ ให้นำมาใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้ธนาคาร แต่บางครั้งก็ไม่พอ
มีอยู่คืนหนึ่ง เสียงอันดังของคุณโจนสลับกับเสียงพูดของมิสอารี่ปลุกลิซ่าตื่นขึ้นมากลางดึก ลิซ่าคิดในใจ “อะไรเนี่ย! ” ทีแรกลิซ่าคิดว่าเธอดูละครโทรทัศน์จนหลับไป แต่ประเดี๋ยวเดียวเสียงก็เงียบไป
รุ่งเช้าเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มิสอารี่หน้าตาแจ่มใสเป็นปกติ ขี่จักรยานพาลิซ่าเข้าไปเที่ยวในเมือง วันนี้มิสอารี่แต่งตัวสวยเหมือนทุกวัน แก้มขาว ปากทาลิปสติกสีแดงสดเหมือนสีของเสื้อแขนยาว ตัดกับเข็มขัดหนังสายฟ้าสีน้ำตาลอ่อน กางเกงขายาวและรองเท้าบูทส้นเตี้ยสีขาว ซึ่งถ้าไม่มองใกล้ๆ ก็จะไม่รู้ไม่เห็นรอยกระดำกระด่างจางๆ เพราะมิสอารี่ใส่มันทำงานทุกวัน วันนี้มิสอารี่ใส่ตุ้มหูทองและสวมแหวนระยิบระยับที่นิ้วมือข้างละสองวง ไม่ทาเล็บแต่เล็บขาวซีดยาวพอประมาณทั้งสองมือ ฝ่ามืออมแดงมีริ้วรอยเป็นเส้นๆ เต็มไปหมด มือทั้งสองของเธอทำงานเปียกๆ ไม่หยุด
เช้านี้ “เราจะไปเที่ยวร้านเครื่องประดับกัน มิสอารี่พาลิซ่าไปร้านขายเครื่องประดับร้านหนึ่ง เป็นร้านไม่มีชื่อซ่อนอยู่ด้านในของร้านหน้งสือ มีเพียงตู้กระจกใสวางอยู่ด้านหน้า สูงพอๆ กับลิซ่า จึงเห็นเครื่องประดับที่มีอยู่ไม่มากแต่จัดวางอย่างเป็นระเบียบได้ชัดเจน ดูเหมือนมิสอารี่จะรู้จักมักคุ้นกับเจ้าของร้านเพราะคุยกันอย่างสนิทสนม
“เป็นไงวันนี้ อารี่ มีอะไรให้ช่วยไหม และนี่ใครกันหละ” 
“สวัสดีจ้ะหนูน้อย” ลิซ่ายิ้มตอบเจ้าของร้านเครื่องประดับ คุณลุงหัวเหน่งหน้าแหลมตาหยีที่แบะปากยิ้มทักทาย
“ขอบคุณค่ะคุณอา เพื่อนบ้านที่น่ารักที่สุดไงละ” มิสอารี่ลูบศรีษะลิซ่าเบาๆ แล้วหันไปพูดกับเจ้าของร้าน
“คือว่านี่ค่ะ” พลางถอดแหวนและตุ้มหูออก “ช่วยดูหน่อยว่าจะช่วยได้ซักเท่าไหร่” เจ้าของร้านถอดแว่นออกแล้วเอาแว่นขยายอันเล็กๆ มาส่องดูตุ้มหูทองก่อน ส่วนที่วางอยู่คือ แหวนทองคำมีลายประดับเพชรสองวง, แหวนทองเกลี้ยงแวววาวหนึ่งวง และแหวนสีทองจางๆ ประดับเพชรเม็ดโดดอีกวงนึง ลิซ่าเคยเห็นแหวนวงนี้ ลิซ่าเงยมองมิสอารี่ ปกติหน้าของเธอจะเหมือนมีรอยยิ้มอยู่ตลอดเวลาพร้อมตาดำสดใสที่เบิกโต แต่ตอนนี้เวลาที่มิสอารี่มองไปที่เจ้าของร้าน ลิซ่าสังเกตเห็นเพียงใบหน้าที่มีเพียงรอยยิ้มกลบเกลื่อนเล็กๆ และดวงตาที่หรี่ลงฉายแววขอร้อง เจ้าของร้านเพ่งพินิจเครื่องประดับสักครู่ จึงกล่าวว่า 
“นี่มันแหวนแต่งงานไม่ใช่เหรอ! เรารับประกันไม่ได้หรอก หากจะมีคนอื่นมาซื้อไป”
“ไม่เป็นไรคุณอา แหวนมันเก่าแล้ว วันหลังชั้นจะมาซื้อวงใหญ่กว่านี้นะคะ”
“555.. 5จริงๆๆ” ตาลุงหัวเราะ แล้วหยิบเครื่องคิดเลขให้มิสอารี่ดู
“ผมช่วยได้เท่านี้นะ..... . “เอ้า! คนกันเองไม่ต้องกำไร ให้เท่านี้เลยละกัน” จบการสนทนา เจ้าของร้านคงแฮ้ปปี้น่าดู ลิซ่าคิดในใจ

ในครั้งนั้นมีประสบการณ์หนึ่งที่ลิซ่าไม่เคยลืมเกิดขึ้นด้วย มิสอารี่ถามลิซ่า “หนูอยากได้เครื่องประดับน่ารักๆซักชิ้นไม๊จ๊ะ?”
“ขอบคุณค่ะ คุณป้าก็รู้หนูไม่มีเงินหรอก” ลิซ่าตัดพ้อ
“เอาเถอะน่ะ เดี๋ยวก็มีเอง เธอโตพอที่สร้างของมีค่าเป็นสมบัติส่วนตัวซักชิ้น ชอบชิ้นไหนละจ๊ะ”
ลิซ่าอึ้งกิมกี่ไปพักนึง เด็กชนบทอย่างลิซ่ามีแค่กำไล สร้อยคอ และมงกุฏดอกไม้เป็นเครื่องประดับก็รู้สึกลันล้าแล้ว แต่นี่ได้มาเลือกเครื่องประดับหรูหราแวววาวระยิบระยับ จนตาพร่าจนทำอะไรไม่ถูก

หลังจากค่อยๆ เลือกเแล้วลองสวมดูอยู่สักครู่ ไม่นานลิซ่าก้อได้สร้อยข้อมือทองคำเรียบง่ายเส้นเล็กๆ สร้อยทองเส้นบางเข้ากับข้อมือเล็กๆของเด็กผู้หญิง ผิวที่ขาวตกกระ เสริมสีของทองคำให้เปล่งประกาย แลดูหรูหร สร้อยข้อมือทองคำแท้ 24 กะรัต(24K)ทำจากทองใหม่น้ำหนัก 2 กรัมกว่าๆ ราคา 70 ยูโร (2734บาท/2560 ผู้เขียน) สำหรับเด็กๆ ในชนบทไม่มีร้านค้าต่างๆ เหมือนในเมือง จึงไม่จำเป็นต้องมีเงินหรือใช้เงิน เด็กที่โตพอและเกิดมีความต้องการใช้เงินจำนวนไม่มาก จะไปขอทำงานตามบ้าน อาจจะได้ช่วยงานในไร่ เก็บผลไม้ ส่งนม หรืออื่นๆ มิสอารี่ให้ลิซ่าตกลงกับเจ้าของร้านว่า ขอให้เขาเก็บสร้อยข้อมือเส้นนี้ไว้ในนามของลิซ่า แล้วให้ลิซ่านำเงินมากน้อยตามกำลังมาผ่อนชำระเองจนครบก่อนคริสต์มาสที่จะมาถึงนี้
“เธอไม่ต้องกลัวหรอกนะ เดี๋ยวก็จ่ายหมดเองแหละ เชื่อชั้นสิ” มิสอารี่ยิ้มอย่างมั่นใจ เลยทำให้ลิซ่าพอมองเห็นหนทาง ตั้งแต่นั้นมามิสอารี่จะแอบให้เงินลิซ่าทุกครั้งที่ลิซ่าไปช่วย สองเซนต์บ้าง ห้าเซนต์บ้าง (1ยูโร = 10 เซนต์/ผู้เขียน) แม้ลิซ่าจะไม่รับแต่มิสอารี่กล่าวว่า 
“ลิซ่าจ๊ะ ฉันจะดีใจมาก ในวันที่เธอได้เป็นเจ้าของสร้อยข้อมือ”
“ขอบคุณคะ” ลิซ่าพูดออกไปแค่นั้น “คุณสอนให้หนูกล้า ที่จะเป็นเจ้าของในสิ่งที่หนูไม่อาจเอื้อม” เป็นคำพูดที่อยู่ในใจอันตื้นตันของเธอ

เย็นแล้ว มิสอารี่ปั่นจักรยานพาลิซ่ากลับ ระหว่างทางไม่มีเสียงพูดคุยสนุกสนานเหมือนอย่างเคย ลิซ่ามองทิวทุ่งที่ทอดออกไปสุดลูกหูลูกตา รวงข้าวสาลีต้องแสงแดดเหลืองอร่ามไปทั่ว ไม่ต่างอะไรกับสีของทองคำ ประกายระยิบระยับบนผิวน้ำตลอดแนวลำธารที่สาดสะท้อน ลิซ่านึกถึงเครื่องประดับในตู้กระจกของมิสอารี่ที่ขายให้เจ้าของร้านไป “สมบัติผลัดกันชม ไม่ตายหาใหม่ได้” ก่อนออกจากร้านเธอกล่าวอย่างยิ้มๆ ถึงแม้จะไม่ได้สวมเครื่องประดับแล้ว แต่ใบหน้าของเธอยังคงมีรอยยิ้มจางๆ ลิซ่าแค่เศร้าใจที่ช่วยอะไรไม่ได้ หลังจากนั้นลิซ่าได้ไปกับมิสอารี่อีกครั้งสองครั้ง และไม่นานลิซ่าก้อจ่ายจนครบจำนวน ได้สร้อยข้อมือทองคำเป็นสมบัติชิ้นแรกในชีวิต มิสอารี่ดีใจมากบอกให้ลิซ่าเอาเส้นใหญ่กว่าเดิมอีกเส้น แต่ลิซ่าทำตาโตอ้าปากค้างเหมือนแอนนาเบลล์! นอกจากนี้ มิสอารี่ยังเคยเอาเครื่องประดับของเธอ ให้ลิซ่าช่วยนำไปขายที่ร้านของตาลุงหัวเหน่งอังเดร

ลิซ่าเคยคิดจะเอ่ยปากถามมิสอารี่ว่า เธอยังเป็นหนี้อีกเท่าไหร่ และหากว่าเธอต้องการ ลิซ่าก้อสามารถเอาสร้อยข้อมือไปขายแล้วนำเงินมาให้เธอ เหมือนมิสอารี่จะรู้
“ปัญหาต่างๆ ของป้า ป้าคนเดียวจัดการได้จ๊ะหนู” เธอพูด “ไม่ต้องเป็นห่วงนะ ทำสิ่งที่หนูควรทำ ให้ดีต่อๆ ไปนะจ๊ะ”
ฉันรู้สึกอยากจะกอดเธอเดี๋ยวนั้น ไม่รู้ว่าเพราะฉันสงสารที่เธอต้องขายของมีค่าของเธอเอง แล้วยังต้องทำงานหนักคนเดียวทุกวันๆ หรือเพราะว่าฉันอยากจะให้กำลังใจตัวเอง เพื่อที่จะอดทนและพยายามทำในสิ่งที่ฉันควรทำ.. แล้วทุกอย่างจะดีเอง

ฤดูร้อนใกล้จบลง เสียงคุณโจนและมิสอารี่เอะอะบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ฉันไม่อยากเรียกมันว่า “ทะเลาะ” กัน แบบนั้นฉันจะรู้สึกหดหู่เมื่อนึกถึงสภาพของมิสอารี่ในขณะนั้น แม้ฉันกับคุณโจนพูดคุยกันแบบนับคำได้ หรือเพียงแค่ทักทายกัน เพราะบรรยากาศมาคุระหว่างคุณโจนและมิสอารี่ เธอจึงบอกให้ฉันมาหาเธอน้อยลง เสียงเอะอะยังไม่ทันจะจางหายไป อยู่ๆ มิสอารี่ก็ไม่อยู่ที่บ้าน คุณโจนบอกว่ามิสอารี่ไปเยี่ยมญาติ ลิซ่าคิดว่าเดี๋ยวคงกลับ แต่ไม่นานก็มีผู้หญิงคนหนึ่งมาอยู่และทำงานต่างๆ ทั้งงานบ้านและงานในไร่ข้าวสาลี ไม่ทันที่จะได้เห็นหน้าผู้หญิงคนนั้นชัดๆ ฉันก็ไปเรียนต่อในเมืองหลวงกรุงดับลิน กลับมาสามครั้งก่อนที่จะย้ายไปอยู่ดับลิน จะพบเพียงคุณโจนซึ่งดูแก่ลงไปมาก แกยังคงกล่าวแต่เพียงว่ามิสอารี่ไปเยี่ยมญาติ คนแถวอื่นๆ นี้ ไม่มีใครรู้อะไรเกี่ยบกับมิสอารี่ รวมทั้งอังเดร ซึ่งหลังจากนั้นฉันก็ไม่ได้เจอมิสอารี่อีกเลย ช่วงเวลาสั้นๆในฤดูร้อน แต่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และถูกกลบทับด้วยหิมะที่กำลังโปรยปรายลงมา ในชนบทที่เงียบสงบแห่งนี้

The End

ไม่ว่ายังไงครอบครัวที่เราเติบโตขึ้นมา สักวันหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนไป หากเปลี่ยนไปในทางที่ดีคนเดิมๆ ยังอยู่ครบแล้วมีคนใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ดี แต่หากสมาชิกในครอบครัวที่มีแยกตัวออกไปอยู่ต่างหาก หรือไม่อยู่แล้ว คนในครอบครัวที่เหลืออยู่ก็ต้องปรับตัวจากครอบครัวที่เคยมีเคยอยู่กัน กลายเป็นครอบครัวที่เหลืออยู่ ก็ต้องอยู่อย่างไม่มีแล้วไม่สามารถมีอะไรมาแทนที่ได้ ทุกๆครอบครัวเป็นเหมือนกันดังนี้ ขอให้โชคดีครับ


เป็นเรื่องสั้นเขียนที่ขึ้นเป็นตอนๆ เปรียบเปรยอ้างอิงจากประสบการณ์ของผู้เขียน

'กิจกรรม : บริจาคเรื่องเรา เร้าพลังน้อง' บริจาคประสบการณ์ชีวิตของคุณสร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจเด็กๆ ส่งมาได้ที่ farmsookicecream@gmail.com ขอบคุณการแบ่งปันทุกๆ เรื่องราว

บทความที่ได้รับความนิยม

สันทนาการ